กล่องสมองกลสร้างสรรค์ และการเขียนโปรแกรม KB-IDE (Coding Online for Teacher Plus: C4T Plus-KB-IDE)

กล่องสมองกลสร้างสรรค์ และการเขียนโปรแกรม KB-IDE (Coding Online for Teacher Plus: C4T Plus-KB-IDE)

10/12/2020 Off By apinlovereal

1.1 การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม IPST-WiFi ด้วย KB-IDE

จุดประสงค์ของบทเรียน

1. ติดตั้งโปรแกรม KB-IDE

2. เชื่อมต่อบอร์ด IPST-WiFi และโปรแกรม KB-IDE

แนวคิด

องค์ประกอบของบอร์ด IPST-WiFi และการติดตั้งโปรแกรม KB-IDE เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม

1.2 การแสดงผลผ่าน OLED

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมควบคุมการแสดงผลผ่านจอ OLED

แนวคิด

การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของบอร์ด IPST-WiFi เพื่อให้ส่งผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอ OLED, LED

1.3 การใช้สวิตช์ SW1 ควบคุมการทำงาน LED

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมควบคุมการใช้สวิตช์ SW1 ควบคุมการทำงาน LED ภายในบอร์ด IPST-WiFi

แนวคิด

การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของบอร์ด IPST-WiFi เพื่อให้อุปกรณ์สวิตซ์ SW1 รับข้อมูลเข้า ทำการประมวลผล และส่งผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอ OLED, LED

1.4 การเขียนโปรแกรมแสดงผลผ่าน Serial-Monitor

จุดประสงค์

แสดงผลข้อมูลผ่าน Serial Monitor

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi มีจอ OLED ที่สามารถใช้ในการแสดงผล และมีส่วนเชื่อมต่อพอร์ต USB เพื่อใช้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงผลผ่าน Serial Monitor ได้


2.1 เทศกาลงานแสดงไฟ

จุดประสงค์

1. การใช้บล็อกคำสั่ง NeoPixel แสดงไฟแต่ละดวง

2. การประยุกต์ใช้คำสั่ง Count ร่วมกับ NeoPixel

3. การใช้บล็อกคำสั่ง NeoPixel แสดงค่าสีตามสถานการณ์กำหนด

แนวคิด

NeoPixel เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของบอร์ด IPST-WiFi ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสั่งงานได้หลากหลายรูปแบบ

2.2 ดนตรีคือชีวิต

จุดประสงค์ 

ใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อแสดงเสียงผ่านลำโพงเปียโซ

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi มีตัวต้านทานปรับค่าได้ ลำโพงเปียโซ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของบอร์ด IPST-WiFi ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสั่งงานได้หลากหลายรูปแบบ


3.1 โปรแกรมวัดความชื้น

จุดประสงค์

1. เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกทั้งแบบดิจิทัลและแอนะล็อกให้ทำงานร่วมกับบอร์ด IPST-WiFi

2. เขียนโปรแกรมที่ใช้โครงสร้างแบบมีทางเลือกและทำซ้ำ

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบดิจิทัลผ่านจุดเชื่อมต่อพอร์ตอินพุต เอาต์พุตแบบดิจิทัล (พินหมายเลข 5, 19, 23) และแบบแอนะล็อกผ่านจุดเชื่อมต่อพอร์ตอินพุตแบบแอนะล็อก (พินหมายเลข 32 ถึง 35)

การโปรแกรมที่มีโครงสร้างแบบทางเลือกใช้สร้างเงื่อนไขควบคุมอุปกรณ์ เช่น แบบทำซ้ำ แบบทางเลือก

3.2 สวิตช์ปรับไฟหรี่

จุดประสงค์ 

1. เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกทั้งแบบดิจิทัลและแอนะล็อกให้ทำงานร่วมกับบอร์ด IPST-WiFi

2. ใช้งานสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์

3. เขียนโปรแกรมที่ใช้โครงสร้างแบบมีทางเลือกและทำซ้ำ

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบดิจิทัลผ่านจุดเชื่อมต่อพอร์ตอินพุต เอาต์พุตแบบดิจิทัล (พินหมายเลข 5, 19, 23) และแบบแอนะล็อกผ่านจุดเชื่อมต่อพอร์ตอินพุตแบบแอนะล็อก (พินหมายเลข 32 ถึง 35)

สัญญาณ PWM เป็นเทคนิคที่ใช้ปรับแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ควบคุมอุปกรณ์ให้มีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ควบคุม LED ให้สามารถปรับระดับความสว่างได้

การโปรแกรมที่มีโครงสร้างแบบทางเลือกใช้สร้างเงื่อนไขควบคุมอุปกรณ์ เช่น แบบทำซ้ำ แบบทางเลือก


4.1 การสร้างงาน IoT ด้วย IPST-WiFi และ Blynk

จุดประสงค์

1. อธิบายความสำคัญของ IoT

2. เชื่อมต่อ IPST- WiFi กับ Blynk

3. ควบคุมการเปิด-ปิด ไฟอัตโนมัติ

แนวคิด

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือไอโอที (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวรับรู้หรือเซนเซอร์ (sensor) เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถส่งข้อมูลที่เซนเซอร์วัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้

act4.1

4.2 การสร้าง IoT Data logging ด้วย IFTTT

จุดประสงค์

จัดเก็บข้อมูลผ่านระบบ IoT โดยใช้ บริการ IFTTT

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi สามารถนำมาสร้างเป็นระบบไอโอทีอย่างง่าย ตัวอย่างเช่น ระบบวัดค่าแสงอัตโนมัติเพื่อจัดเก็บข้อมูลแสงในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ วินาที โดยใช้ บริการ IFTTT ที่เชื่อมต่อกับ google sheet ทำให้นำข้อมูลที่จัดเก็บนี้มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ได้

act4.2


5.1 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 1

จุดประสงค์

1. อธิบายแนวคิดการพัฒนาอุปกรณ์สมองกลฝังตัว เพื่อเชื่อมต่อกับระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ เช่น Line

2. ศึกษาตัวอย่างการแจ้งเตือนผ่าน Line ในระบบเปิด-ปิด ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

แนวคิด

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การทำงานต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ทำให้สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับชีวิตประจำวันได้ง่ายมากขึ้น LINE Notify เป็นบริการของ LINE ในรูปแบบของส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (Application Programing Interface: API) เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปต่อยอด พัฒนาโปรเจกต์ให้ระบบสมองกลฝังตัวสามารถส่งข้อความ การแจ้งเตือนต่าง ๆ ไปยังบัญชีไลน์ของผู้ใช้ในรูปแบบ 1 ต่อ 1 หรือแบบกลุ่ม LINE ที่ถูกสร้างขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หน้าจอแสดงผล หลอดไฟ เสียง

5.2 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 2

จุดประสงค์

1. การสมัครใช้บริการ Line Notify

2. การสร้าง token แบบ 1 ต่อ 1 เพื่อใช้ในโปรแกรม KB-IDE

3. การติดตั้ง Plugin TridentTD_LineNotify

แนวคิด

การตั้งค่าการใช้งาน Line Notify  และติดตั้ง Plugin ชื่อ TridentTD_LineNotify

5.3 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 3

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมสวิตช์ ส่งการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify แบบ 1 ต่อ 1

แนวคิด

สร้างบล็อกคำสั่งเมื่อกดปุ่ม 0/SW1 บนบอร์ด IPST-WiFi เพื่อส่งการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify แบบ 1 ต่อ 1

Act5.3

5.4 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 4

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมสวิตช์ ส่งการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify แบบ 1 ต่อ 1

แนวคิด

ปรับปรุงโปรแกรมโดยเพิ่มเงื่อนไข เมื่อกดปุ่ม 0/SW1 บนบอร์ด IPST-WiFi ไว้ประมาณ 0.5 วินาที ครบจำนวน 5 ครั้ง ให้ Line Notify แสดงข้อความ “IPST-WiFi ครั้งที่ 5 แล้วนะ”

Act5.4

5.5 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 5

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมสวิตช์ ส่งการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify แบบกลุ่ม

แนวคิด

การแจ้งเตือนต่าง ๆ ไปยังบัญชีไลน์ของผู้ใช้ในรูปแบบกลุ่ม LINE ที่ถูกสร้างขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หน้าจอแสดงผล หลอดไฟ เสียง

Act5.5

5.6 แจ้งเตือนผ่านไลน์ (Line Notify) ตอนที่ 6

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมสวิตช์ ส่งการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify แบบกลุ่ม

แนวคิด

ปรับปรุงโปรแกรม โดยเพิ่มเงื่อนไข เมื่อกดปุ่ม 0/SW1 บนบอร์ด IPST-WiFi ไว้ประมาณ 0.5 วินาที ครบจ านวน 5 ครั้ง ให้ LINE Notify แสดงข้อความ “IPST-WiFi ครั้งที่ 5 แล้วนะ”


6.1 การใช้บอร์ดเสริม i-KB1

จุดประสงค์ 

เชื่อมต่อบอร์ด iKB-1 เข้ากับบอร์ด IPST-WiFi

แนวคิด

บอร์ดเสริม iKB-1 มีพอร์ตสำหรับขับมอเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ และยังมีพอร์ตอินพุตเอาต์พุตแบบดิจิทัลและแอนะล็อก อีกจำนวน 8 ช่อง เพื่อเชื่อมต่อเซนเซอร์อื่น ๆ เพิ่มเติมจากบอร์ด IPST-WiFi

6.2 การขับเคลื่อนมอเตอร์ ผ่านบอร์ดเสริม iKB-1

จุดประสงค์ 

เขียนโปรแกรมควบคุมเซอร์โวมอเตอร์

แนวคิด

บอร์ด IPST-WiFi ไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อกับเซอร์โวมอเตอร์และชุดเฟืองขับมอเตอร์โดยตรง ต้องใช้บอร์ดเสริม iKB-1 ช่วยในการขับเซอร์โวมอเตอร์และชุดเฟืองขับมอเตอร์ เพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น การขับเคลื่อนหุ่นยนต์ ระบบการทำงานอัตโนมัติ ไม้กั้นอัตโนมัติ สายพานลำเลียงอัตโนมัติ

act6.2


7.1 แนวคิดการพัฒนาโครงงาน และตัวอย่างโครงงานระบบเปิด-ปิด ไม้กั้นรถยนต์อัตโนมัติ

จุดประสงค์

1. ประยุกต์ใช้บอร์ด IPST-WiFi เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

2. ศึกษาตัวอย่างระบบเปิด-ปิดไม้กั้นรถยนต์อัตโนมัติ

3. หลักการทำงานของเซนเซอร์วัดระยะทาง

4. เขียนโปรแกรมเพื่อวัดระยะทางระหว่างวัตถุและเซนเซอร์

แนวคิด

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การทำงานต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ทำให้สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับชีวิตประจำวันได้ง่ายมากขึ้น วัสดุอุปกรณ์มีราคาถูกลง ติดตั้งและพัฒนาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

7.2 พัฒนาโครงงานด้วย IPST-WiFi

จุดประสงค์

เขียนโปรแกรมควบคุมการเปิด-ปิดไม้กั้นรถยนต์อัตโนมัติ

แนวคิด

การวางแผน ออกแบบ และทำโครงงานระบบควบคุมการเปิด-ปิดไม้กั้นรถยนต์อัตโนมัติ

 


 

 Smart Farm ด้วย KB-IDE

 

ขอขอบคุณที่มา https://learn.teacherpd.ipst.ac.th

จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษา

15,738 total views, 18 views today