การแก้ปัญหาด้วย Scratch
06/19/2020จุดประสงค์และแนวคิด
- ใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น
- อธิบายการทำงานที่มีการวนซ้ำ
- สร้างและใช้ตัวแปรในการเขียนโปรแกรม
- เขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบเงื่อนไข
- ออกแบบและเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาโดยมีการสร้างฟังก์ชันเพื่อแบ่งการทำงานย่อย
- เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาโดยมีการสร้างฟังก์ชันเพื่อแบ่งการทำงานย่อย
แนวคิด
การแก้ปัญหาจากการทำงานหรือชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลมีขั้นตอนและใช้เวลาที่แตกต่างกัน ความรู้และประสบการณ์จะส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามทุกคนต่างต้องการหาวิธีการในการแก้ปัญหาที่ทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้องในเวลารวดเร็ว เพื่อช่วยให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและประเมินผลที่ได้ ขั้นตอนนี้จะทำควบคู่ไปกับขั้นตอนการดำเนินการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาจากการทำงานหรือปัญหาในชีวิตประจำวัน โปรแกรม Scratch เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเขียนโปรแกรม โดยโปรแกรมลักษณะเป็นบล็อกคำสั่ง ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องกังวลเรื่องการพิมพ์คำสั่งผิดพลาด อีกทั้งยังทำให้ผลงานมีความน่าใจ ปัจจุบันโปรแกรม Scratch พัฒนาถึงรุ่น 3.0 โดยมีคำสั่งที่มีการรับค่าข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล รวมถึงการใช้ตัวดำเนินการ หรือคำสั่งที่ใช้สำหรับการทำงานที่มีทางเลือก วนซ้ำ และสร้างฟังก์ชัน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ โดยนำความรู้เรื่องต่าง ๆ มาเป็นส่วนประกอบในการวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลเข้า ข้อมูลออก เพื่อนำมาประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในกิจกรรม
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ผู้สอนสามารถเลือกเครื่องมือได้ตามความเหมาะสม สำหรับในกิจกรรมนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ในที่นี้คือ โปรแกรม Scratch โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และศึกษาตัวอย่างการใช้ Scratch ในการแก้ปัญหา ร่วมถึงการวิเคราะห์ปัญหาและการเขียนอัลกอริทึม เพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรม
ลงมือทำแบบฝึกหัด>>> คลิก
ขอขอบคุณที่มา : https://learn.teacherpd.ipst.ac.th
40,003 total views, 9 views today