2-66 ม.5 วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี -> วิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยี) 4
11/06/2023 Off By apinloverealศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีการจัดการข้อมูล ข้อมูล ฐานข้อมูล คลังข้อมูล การทำเหมืองข้อมูล ประมวลผลข้อมูล วิทยาการข้อมูล ข้อมูลขนาดใหญ่ การวิเคราะห์ข้อมูล วิทยาการข้อมูล
โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) และการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน(Project-based Learning) เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหาวางแผนการเรียนรู้ ตรวจสอบการเรียนรู้ และนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา จนสามารถนำเอาแนวคิดเชิงคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงงานได้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรวบรวมข้อมูลในชีวิตจริงจากแหล่งต่าง ๆ และความรู้จากศาสตร์อื่นมาประยุกต์ใช้ สร้างความรู้ใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และใช้อย่างปลอดภัยมีจริยธรรม ตลอดจนนาความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ และเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด
ม.5/1 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์
รวม 1 ตัวชี้วัด
ลำดับที่ | ชื่อหน่วย การเรียน | มาตรฐาน การเรียนรู้ / ตัวชี้วัด | สาระสำคัญ | เวลา (ชม.) | น้ำหนักคะแนน |
1 | ข้อมูลมีคุณค่า | ว 4.2 | ศึกษาหลักการของวิทยาการข้อมูล และหลักการคิดเชิงออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ | 4 | 10 |
2 | การเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล | ว 4.2 | วิธีการเก็บข้อมูลและเตรียมข้อมูล | 5 | 10 |
3 | การวิเคราะห์ข้อมูล | ว 4.2 | การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การนำเสนอข้อมูล | 4 | 10 |
4 | การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล | ว 4.2 | การแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ การเลือกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและตัวอย่างกรณีศึกษา | 5 | 40 |
คะแนนเก็บระหว่างเรียน | 18 | 70 |
สอบกลางภาค | 1 | 10 |
สอบปลายภาค | 1 | 20 |
รวม | 20 | 100 |
วิธีทํา Google Forms สร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูล
วิธีเริ่มใช้งาน Google Forms
1. ในการจะเริ่มใช้งาน Google Forms นั้นผู้ใช้จะต้องมีบัญชี Google เสียก่อน ซึ่งถ้าหากเคยใช้ Gmail อยู่แล้วก็สามารถล็อกอินด้วยบัญชี Gmail ได้เลย (ดูวิธีสมัคร Gmail ที่นี่)
2. เมื่อมีบัญชี Google แล้วให้ไปที่หน้าเว็บ Forms.google.com
3. เลือกรูปแบบ Template ฟอร์มที่ต้องการสร้างได้เลย
วิธีสร้างฟอร์มใน Google Forms
เมื่อเลือกสร้างฟอร์มขึ้นมาแล้ว จะปรากฎหน้าจอดังรูปด้านล่าง โดยในแท็บ คำถาม (Questions) จะแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. กรอกคำถาม (สามารถใส่รูปภาพได้) หรือกำหนดตัวเลือกคำตอบแบบสอบถามข้อนั้น ๆ
2. เลือกรูปแบบของชอยส์ตัวเลือกที่ต้องการ
3. ปุ่มสำหรับเพิ่มคำถาม นำเข้าคำถามจากฟอร์มอื่น เพิ่มชื่อหัวข้อหรือคำอธิบาย รวมทั้งใส่รูป วิดีโอ และทำคำถามแยกออกเป็นส่วน ๆ
4. ปุ่มสำหรับคัดลอกและลบคำถามข้อนั้น ๆ
5. เลือกว่าต้องการให้เป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบหรือไม่
สำหรับแท็บ การตอบกลับ (Responses) จะเป็นหน้าที่รวมข้อมูลทั้งหมดจากผู้ที่เข้ามาตอบแบบสอบถาม ซึ่งสามารถเลือกเปิดหรือปิดการรับคำตอบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ส่วนแท็บสุดท้าย การตั้งค่า (Settings) จะสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ของแบบฟอร์มนั้น ๆ ได้ เช่น ทำให้เป็นควิซที่มีการบันทึกคะแนน ตั้งค่าว่าให้มีการบันทึกอีเมลคนทำแบบสอบถามหรือไม่ สามารถแก้ไขคำตอบได้ไหม จำกัดให้ทำแบบสอบถามได้คนละครั้งเดียว และปรับการแสดงผลต่าง ๆ ในหน้าแบบฟอร์ม
และที่มุมขวาบนของหน้าจอจะมีปุ่มสำหรับเปลี่ยนธีม ปุ่มดูตัวอย่างแบบสอบถามจริง ปุ่ม Undo/Reno และปุ่มส่ง (Send) สำหรับส่งแชร์แบบสอบถามให้คนอื่น
เมื่อกดปุ่ม Send แล้วจะปรากฎหน้าสำหรับเลือกส่งแบบฟอร์มให้บุคคลอื่น ๆ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าต้องการส่งเป็นอีเมล ลิงก์ หรือแบบโค้ด Embed ไว้ฝังในหน้าเว็บไซต์
กิจกรรม สร้างแบบสำรวจจาก Google Forms
Google Data Studio (GDS) คือ เครื่องมือฟรีที่แสดงผลข้อมูลรายงานในรูปแบบรูปภาพ (Data Visualization) ที่มาจาก Google Analytics โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานบน Dashboard ได้ และ เลือกรูปแบบในการประมวลผลรายงานได้เอง ไม่ว่าจะเป็น:
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/analytics/what-is-google-data-studio
พัฒนาโครงงานเพื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
เว็บไซต์สร้างผังกราฟิก MindMup.com
ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือภาพร่างโครงงานของนักเรียน แนะนำ www.tinkercad.com
แนวทางการเขียนเค้าโครงโครงงาน